Pseudo Code (soodo) ความหมายแบบเป็นทางการสุด ๆ ก็คือรหัสเทียม ซึ่งเป็นการรวมเอา 2 คำมารวมกันก็คือ Pseudo ที่เป็น adjective ซึ่งในบริบทนี้แปลว่า "เทียม" ซึ่งทางสำนักอย่าง Oxford ให้คำนิยามว่า "Not genuin" ซึ่งก็คือไม่ใช่ของจริง ก็เทียมนั่นแหละครับท่านผู้ชม
และอีกคำหนึ่งคือ Code ซึ่งแปลว่า "รหัส"
ดังนั้นเมื่อนำมารวมกันก็จะได้เป็นคำว่า "รหัสเทียม"และนี่ก็จบไปในส่วนความหมายและคำนิยามแบบพอหอมปากหอมคอ ส่วนการใช้งานหลาย ๆ คนก็น่าจะทราบกันดี ถ้าใครยังไม่ทราบหรือยัง ๆ หรือไม่แม่นก็ขออธิบายเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยคงจะเคยเห็นคนที่เขียนใส่กระดาษมาแล้วใช่ไหมครับกับขั้นตอนการทำงานของโค้ด ซึ่งขั้นตอนการเขียน Pseudo Code นี่แหละครับ เป็นอธิบายอัลกอริทึมและลอจิกต่าง ๆ ของโค้ดที่เราจะเขียน ดังนั้นจึงต้องมีขั้นตอนเหล่านี้ก่อน เพื่อให้มอง flow งานออก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ควรที่จะเขียน Flowchart และ Pseudo Code กันก่อนที่จะเริ่มเขียนโปรแกรมจริงกันครับ
Pseudo Code ไม่สนใจว่าเราจะเขียนโปรแกรมมิ่งภาษาไหน เพราะว่าไม่ว่าจะเขียนภาษาอะไร ทุกคนสามารถเข้าใจ Pseudo Code ร่วมกันได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น บางคนเขียนภาษา Assembly
เมื่อนำโค้ดมาให้คนเขียนภาษา Python ดู อาจจะทำให้ให้คนเขียน Python งงเป็นไก่ตาแตก
แต่ถ้านำ Psedo Code มาให้ดู ก็จบเลย เข้าใจ เพราะมันคือภาษามนุษย์เรา ไม่ได้โฟกัสที่ syntax ของ Assembly
และแน่นอนครับว่า Pseudo Code นั้นไม่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ เพราะมันไม่สามารถรันหรือคอมไพล์ได้ในทางตรงกันข้าม มันก็ทำให้มนุษย์โปรแกรมเมอร์เราเข้าใจได้ดีนั่นเองครับ
การเขียน Psedo Code เราจะเขียนเป็นโครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure) คือเขียนตามลำดับการทำงานของโค้ดแต่ละบรรทัด
นี่คือตัวอย่างการเขียน Pseudo Code แบบพื้นฐานสุด ๆ สำหรับการตื่นนอนขึ้นมาแล้วไปซื้อกาแฟ
เดินไปซื้อกาแฟ
ถ้าร้านเปิด
สั่งกาแฟ
ถ้าร้านไม่เปิด
ตะโกนดัง ๆ ฉันไม่สามารถเขียนโค้ดได้ถ้าไม่มีกาแฟ
กลับบ้าน
ลองนำ Pseudocode ด้านบนมาเขียนเป็นภาษาไพธอนแบบง่ายสุด ๆ
cafe_open = True
def buy_coffee( ):
if cafe_open:
print("Give me a cup of coffee, please")
else:
print("What the hell !!, I can't code without coffee")
print("Get back home")
buy_coffee()
แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคนได้เลยครับ บางคนก็เขียนใส่กระดาษ บางคนก็เขียนใส่ในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Microsoft Word, Notepad, etc แต่สำหรับแอดมินนั้น ชอบเขียนใส่ Notepad ครับสะดวกดี เปิดปุ๊บ เขียนได้ปั๊บ และมันก็ยังเป็นหนึ่งในวิธีสุดฮิตนั่นเองครับ
จบแล้ววันนี้สำหรับเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพี่เสือดูโค้ด เฮ้ยไม่ใช่ ...ซูโดโค้ด สิ มีคำแนะนำเพิ่มเติมตรงไหน คอมเมนต์กันเข้ามาได้เลยนะครับ
📒ประชาสัมพันธ์ (Django Bootcamp 2022) จัดเต็มที่สุดที่เคยมีมา เข้าใจโครงสร้าง จนต่อยอดไปใช้งานจริงได้อย่างดีเยี่ยม
รายละเอียด Django Bootcamp 2022 (ถ้าสมัครครบ ปิดรับทันที เริ่มเรียน 12 มีนาคม 2565)
References
[geeksforgeeks.com] - How to write pseudo code - Geeks for Geeks
[wikihow.com] - How to write pseudo code - WikiHow